ลักษณะอาการภูมิเเพ้ (Clinical Manifestation)

สาเหตุหลักของภูมิแพ้ไรฝุ่น

 

โรคภูมิเเพ้ (Allergy)

  • ภูมิแพ้, จาม, มีน้ำมูกไหลทั้งปี, แน่นจมูก, ไอเรื้อรัง, เป็นหวัดบ่อยกว่า 2-3 ครั้งต่อปี, คันตา, คันจมูก, คันตามผิวหนัง, หรือแม้แต่คันศีรษะ, และเกาจนเป็นผื่น, ตุ่มนูน, ตุ่มใส (runny nose, congestion, itching ,sneezing, tearing, asthma, cough, chest tightness, wheezing, shortness of breath, rash, papule, vesicle)
  • ลักษณะอาการภูมิแพ้ (Clinical manifestation) จาม มีน้ำมูกไหลทั้งปี แน่นจมูก ไอเรื้อรัง เป็นหวัดบ่อยกว่า 2-3 ครั้งต่อปี คันตา คันจมูก คันตามผิวหนัง หรือแม้แต่คันศีรษะ และเกาจนเป็นผื่น ตุ่มนูน ตุ่มใส
  • โรคภูมิแพ้ เป็นภาวะภูมิไวเกิน (hypersensitivity) ที่ร่างกายแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ (allergen) อาการที่แสดงออกมาได้แก่อาการตามด้านบน

 

ซึ่ง 80 % ของการก่อโรคมีสาเหตุมาจากผงฝุ่นที่เกิดจากมูลและคราบของสัตว์ตัวจิ๋วที่ชื่อว่า ไรฝุ่น

 

ทั้งนี้ปัจจุบันมีรายงานในประเทศไทยว่าพบผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ที่มีสาเหตุมาจากไรฝุ่นแล้วประมาณ 10 ล้านคน โดยชนิดไรฝุ่นที่สำคัญ ได้แก่ Dermatophagoides pteronyssinus (Trouessart) และ Blomia tropicalis Bronswijk ที่สำคัญไรฝุ่นกว่า 90% มักพบบนเตียงนอนที่ต้องใช้ทุกวัน

 

ไรฝุ่น (Dust mites)

  • เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่อยู่ใน Phylum Arthopoda เช่นเดียวกับแมลงและแมง แต่มีลักษณะเด่นคือมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นหรือมองเห็นได้ยากมากๆ ด้วยตาเปล่า เนื่องจากมีขนาดเพียง 0.3 มิลลิเมตร ชอบอาศัยอยู่ในที่มีอุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียสและอยู่ในที่มีความชื้นสูงร้อยละ 75-80 ไม่ชอบแสงสว่าง ดังนั้นในบ้านเรือนจึงพบไรฝุ่นได้ตามในที่นอน หมอน ผ้าห่ม พรม บนโซฟา ผ้าม่าน หรือตุ๊กตาที่ใช้วัสดุเป็นเส้นใย
  • ไรฝุ่นมีชีวิตอยู่ได้โดยการกินเศษขี้ไคล ขี้รังแค สะเก็ดผิวหนังเป็นอาหาร โดยเศษผิวหนัง 1 กรัมสามารถเลี้ยงไรฝุ่นได้ 1,000,000 ตัวนานถึง 1 สัปดาห์ อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 25-30 C และความชื้นสัมพัทธ์ 75-80%

 

สารก่อภูมิแพ้หลัก  มักอยู่ในรูปของมูลและคราบของไรฝุ่น ซึ่งสามารถฟุ้งปะปนอยู่ในอากาศและสูดดมเข้าไปได้ WHO ได้กำหนด ระดับสารก่อภูมิแพ้ 2 ไมโครกรัม/ ฝุ่น 1 กรัม หรือไรฝุ่น 100-500 ตัว/ ฝุ่น 1 กรัม เป็นระดับมาตรฐานที่สามารถกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการหอบหืด

 

และสารก่อภูมิแพ้ 10 ไมโครกรัม/ ฝุ่น 1 กรัม จะกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการหอบหืดอย่างเฉียบพลันได้  ในประเทศไทย พบสารก่อภูมิแพ้ เฉลี่ยถึง 11 ไมโครกรัม/ ฝุ่น 1 กรัม และในกรุงเทพฯ พบปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ เฉลี่ย 5 ไมโครกรัม/ ฝุ่น 1 กรัม